รับแร๊ปรถ เคฟล่า สีเงา สีด้าน แร๊ปทั้งคัน แร๊ปเฉพาะจุด

ปัจจุบันการเปลี่ยนสีรถยนต์ด้วยสติ๊กเกอร์ กำลังได้รับความนิยมอยู่มากพอสมควร ซึ่งการตกแต่งรถยนต์ประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบความจำเจในแบบเดิมๆ ความแปลกใหม่และท้าทายตลอดเวลา ดังนั้น Kevlar-Wrab Club pattaya จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

Kevlar-Wrab Club pattaya เรารับเปลี่ยนสีรถ และชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งงานแร๊ปเคฟล่าร์ ,สีเงา,สีด้าน,แร๊ปทั้งคัน,แร๊ปเฉพาะจุด
เรามีประสบการณ์ในการทำงานมานาน ที่ให้บริการทางด้านการเปลี่ยนสีเพิ่มรรถยนต์ด้วยสติ๊กเกอรืและรับเคลือบภานในด้วยสติ๊กเกอร์คาร์บอน รับหุ้มงานต่างๆ ตลอดจน รถ Super car และ รถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ Super Bike


Special : จุดเด่นของรถคันนี้ อยู่ที่การ Wrap Kaflar Japan ครึ่งคันทีเดียวเริ่มตั้งแต่ ฝากระโปรง คานยาว เสาข้างยาว ฝาท้าย และสปยเล่อร์หลัง ได้ถูกหุ้มเป็นงาน Kaflar Japan ทั้งหมด ทำให้งานออกมา สวย และโดดเด่น ทีเดียว






Special : จุดเด่นของรถคันนี้ อยู่ที่การ Wrap สีดำด้าน ภายนอกทั้งหมด เสริมงาน Wrap สีส้มด้าน มือจับประตู และคิ้วประตูด้านข้าง ที่ลงตัวสวยงามทำให้ดูเป็นรถที่เข้ม แต่ไม่ดู เท่ห์ไปอีกแบบ


ด้วยฝีมือที่ประณีตและความชำนาญจากทีมช่างที่มีฝีมือทางด้านนี้โดยเฉพาะ และราคาที่เราบริการ เป็นราคาที่ยุติธรรม รับรองผลงาน สวย เนียนแน่นอน

สามารถโทรสอบถามรายละเอียดของการให้บริการกันก่อนได้ที่ โทร. 086 3388370 คุณโบ๊ท

เคฟล่า (Kavlar) คือ ???

เพื่อนๆหลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ carbon-fiber, carbon-kevlar เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าจริงๆแล้วมันคืออะไร สร้างมาจากอะไร แตกต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน คุณสมบัติเหมือนกันไหม บทความนี้อาจจะน่าเบื่อนิดนึง แต่เอาเป็นว่าลองทนอ่านกันหน่อยก็แล้วกันนะครับ



ในวงการ motorsport ปัจจุบันนี้เพื่อนๆหลายๆคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ อุปกรณ์ที่ทำมาจาก carbon-fiber บ้าง kevlar บ้าง จริงๆ แล้วเนี่ยมันมีที่มาอย่างนี้ครับ หากยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไรก็ไม่ต้องอายนะครับ เพราะว่าถ้าเพื่อนยังอายที่จะรู้ต่อไปละก็เพื่อนๆอาจจะถูกหลอกหรือเข้าใจผิดว่าชิ้นส่วนที่เพื่อนๆ ใช้อยู่มีคุณภาพเท่าที่ F1 ใช้ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมันไม่ได้มีมาตรฐานในการผลิตเลยก็ได้





Carbon-fiber นั้นจริงๆ แล้วนั้นมันมีพื้นฐานมาจากพลาสติกธรรมดา ที่เราๆ เห็นกันทุกวันนี้แหละครับ เพราะมันคือ Polyacrylonitrile (โพลิอะคลิโลไนไทรล์) ผมขอเรียกมันย่อๆ ว่า PAN ก็แล้วกันนะครับ เจ้า PAN ก็คือต้นกำเนิดที่ใช้ในการผลิตผ้า เรยอง นั้นแหละครับ โดยเราจะเอาโมเลกุลที่ไม่มีความแข็งแรงเหล่านี้ มาเปลี่ยนแปลงการเรียงลำดับโครงสร้างทางเคมีกันใหม่ ซึ่งการผลิตเส้นใย carbon จาก PAN นั้นมี 4 ขั้นตอนดังนี้ครับ

1. Oxidation คือขั้นตอนที่เอาเส้นใย PAN มาเผาที่ความร้อนสูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส จนเส้นใย PAN เปลี่ยนจากสีขาวกลายเป็นสีดำ โดยจะต้องเผาให้ทั่วจนถึงส่วนที่ลึกที่สุดของเส้นใย PAN เลยนะครับ เมื่อจบขั้นตอนนี้จะได้ผ้า ‘Nomex’ หรือเสื้อกันไฟได้ครับ แต่หากเราต้องการ carbon-fiber มันยังไม่พอครับ

2. Carbonisation คือ การแยกธาตุทุกชนิดที่ไม่ใช้ carbon ออกจากเส้นใย PAN โดยวิธีแยกก็คือนำไปเผาที่ความร้อน 10,000-30,000 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศไนโตรเจนด้วยความดันสูงมาก ไม่ใช่ที่บรรยากาศโลก หรือ สูญญากาศ นะครับ โดยยิ่งเผาที่ความร้อนสูงเท่าไร carbon-fiber ก็จะยิ่งมีความแข็งแรงมากเท่านั้นครับ

3. Surface Treatment คือการเคลือบผิวหน้าของเส้นใย ให้สามารถรวมตัวกันเป็นเส้นใยที่ใหญ่ขึ้นเพื่อนำไปใช้งานครับ โดยการเคลือบจะใช้สารประกอบโพลิเมอร์ ซึ่งสามารถยึดเกาะโครงสร้างเล็กๆ ให้สามารถคงรูปอยู่ได้ และทำให้เส้นใยมีความแข็งแรงครับ หากเคลือบไม่ดีเวลานำเส้นใยไปใช้อาจจะมีโพรงอากาศเกิดขึ้น และทำให้มันไม่แข็งแรง พูดง่ายๆ ก็คือเปราะครับ



4. Surface Coating คือการเอา อีพ็อกซี่มาเคลือบผิวเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีการหลุดรุ่ย เพราะ carbon-fiber ที่เรานำมาใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปผืนผ้า ที่จะต้องนำมาตัดและขึ้นรูปกับแม่พิมพ์แล้วทำการหล่อเพื่อนำไปใชงานอีกที โดยหากเราเคลือบไม่ดี เส้นใย carbon จะหักเป็นเศษเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และหากคุณสูดมันเข้าไปจะเป็นต้นเหตุของมะเร็งขั้วปอดได้ครับ



เมื่อจบสี่ขั้นตอนดังกล่าวแล้วเพื่อนๆ ก็จะได้ ผืนผ้า carbon-fiber ซึ่งมีความทนทานกว่าเหล็กถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับมวลที่เท่ากันนะครับ นอกจากนี้ยังสามารถทนแรงบิด แรงเค้นได้มาก รวมถึงยังเบาและมีความหนาแน่นน้อยกว่า โดยหากดูที่ความสามารถในการทนแรงดึงแล้วละก็ carbon-fiber สามารถทนแรงดึงได้มากกว่า Titanium ด้วยซ้ำ

หากถามว่าทำไมมันถึงแข็งแรง ก็เนื่องมาจากการจัดเรียงตัวของโมเลกุลธาตุ carbon นั้นแหละครับเหมือนที่ถ่านก็คือ carbon ชนิดหนึ่งแต่มีความคงทนไม่เท่ากับ เพชร ที่เป็นธาตุ carbon เหมือนกัน ก็เพราะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลธาตุ carbon ที่อุณหภูมิแตกต่างกันนั้นเอง เมื่อได้ผืนผ้า carbon-fiber มาแล้วก็ถึงขั้นตอนการนำไปใช้ ซึ่งขั้นตอนก็คล้ายๆกับการนำเส้นใย fiber-glass มาใช้นั้นแหละครับ แต่ว่าเรซินที่ใช้กับ carbon-fiber จะมีความแตกต่างกับน้ำยาที่ใช้ในงานไฟเบอร์ทั่วไป เพราะทางโรงงานผู้ผลิตผืนผ้า carbon-fiber จะขายผืนผ้า caron-fiber พร้อมกับน้ำยาเรซิน และตัวทำ hardener (น้ำยาทำให้แข็ง) ซึ่งเป็นคนละชนิดกับที่ใช้ในงานไฟเบอร์กลาสทั่วไป
นอกจากน้ำยาที่แตกต่างกันแล้วการจะนำ carbon-fiber ไปขึ้นรูปจะต้องอบหรือให้ความร้อนตาม spec หรือเกรดและจำนวนชั้นของ carbon-fiber ตามที่โรงงานผู้ผลิตกำหนดนะครับ มิฉะนั้นจะไม่ได้ความแข็งแรงเทียบเท่ากับมาตรฐานที่กำหนด

โดยในความเป็นจริงแล้วผู้ผลิต bodypart ทั่วโลก (โดยเฉพาะในประเทศไทย) มักไม่ได้ใช้น้ำยาพิเศษซึ่งมีราคาโครตแพง นอกจากนี้ยังไม่ได้อบชิ้นงานตาม spec ที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด ทำให้ชิ้นส่วนbodypart นั้นไม่ได้ความแข็งแรงตามมาตรฐาน ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องเพื่อใจไว้นิดนึงนะครับว่าชิ้นงานที่ได้จะไม่ได้มีความแข็งแรงเหมือนกับที่ใช้ใน Formula1 หรือรถ supercars ราคาหลายสิบล้าน



ถึงส่วนสุดท้ายที่เพื่อนๆคงอยากรู้ว่า carbon-fiber กับ carbon-kevlar มันแตกต่างกันอย่างไร ตรงไหน อย่างไรทนกว่ากัน หรือว่าต่างกันแค่ลาย



คำตอบก็คือ
carbon-fiber เป็นสีเทา-ดำ
carbon-kevlar เป็นสีเหลือง-ดำ
ทางด้านความแข็งแรงนั้น carbon-fiber แข็งแรงกว่า แต่ให้ตัวได้น้อยกว่า ส่วน carbon-kevlar จะเหนียวกว่า ให้ตัวได้มากกว่าและดูดซับแรงกระแทกได้ดีกว่า โดยการที่จะใช้ทำส่วนประกอบรถที่ดีนั้น จะใช้ทั้ง carbon-fiber และ carbon-kevlar วางซ้อนกันหลายๆ ชั้นครับ

หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์และช่วยลดความสงสัยกับเพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ความสนใจใน bodypart ที่ทำจากวัสดุดังกล่าวนะครับ




สนใจสั่งทำ สอบถาม Kevlar Club Pattaya


โทร.คีทาโร่ 089 0758667

หุ้มเคฟล่าด้วยตัวเอง สติ๊กเกอร์เคฟล่าของ 3M

การหุ้มเคฟล่าด้วยตัวเอง สามารถทำได้นะครับ แต่ขอบอกนิดนึงว่า อาจจะไม่ง่ายนัก สำหรับเพื่อนๆที่ลองทำครั้งแรก นะครับ ตอนนี้ที่ฮิต คงจะเป็น Sticker เคฟล่าของ 3M ที่มีความเหมือนเคฟล่าของแท้มากที่สุดในตอนนี้ครับ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบลายเคฟล่าแท้ แต่ทุนน้อย ตัวนี้เลยครับสมจริง เหมือนจริงอาจเป็นอีกทางเลยนึง



มาดูตัวอย่างวิธีการหุ้ม Sticker แบบแห้งกันครับ







ข้อดีของการหุ้มแบบนี้ คือ ถ้าคุณทำเองได้สำเร็จ เจ๋งครับ ถือว่าโชคดีครับ แต่ส่วนใหญ่อาจจะต้องแก้ไข ถึง 4-5 ครั้งกันเลยทีเดียว

ข้อเสีย คือ เนื้ออาจจะย่นไม่ได้รูป เนื้อไม่เรียบสนิทกับชิ้นงานงาน ตอนที่เราใช้ไดร์เบาครับ และหากเกิดการรันของชิ้นงานขึ้นมา มันจะรันเหมือนถุงน่องอ่ะครับ พอจะนึกภาพออกกันใช่มั้ยครับ

งานหุ้ม Sticker ของ Kevlar -Wrap Club Pattaya (เคฟล่า คลับ พัทยา)
เราใช้วิธีการหุ้ม Sticker ในกับลูกค้าของเรา ในแบบพิเศษ ซึ่งแตกต่างกันในขั้นตอนและคุณสมบัติของกาว ผลงานที่ออกมา นอกจากเนียนแล้ว เรารับประกันเลยว่าไม่เกิดปัญหาการรันแน่นอน ส่วนราคา ก็เป็นราคา มาตราฐานเดียวกับท้องตลาด ที่แตกต่างคงเป็นเรื่องคุณภาพของผลงานที่เพื่อนๆได้รับครับ




สนใจสั่งทำ สอบถาม Kevlar-Wrap Club Pattaya



โทร.โบ๊ท 086 33 88 370